วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

10.บองโก้(Bongo)



บองโก้ (Bongo) บองโกคือกลองคู่ ขนาดกะทัดรัด เล็กๆ น่ารัก เหมาะกับการพกพาไปตามสถานที่ต่างๆ ตัวกลองเป็นไม้หรือไฟเบอร์ขึงหน้ากลองด้วยหนังวัว กลองบองโกต้องมี 2 ใบเสมอ ใบหนึ่งเล็ก อีกใบหนึ่งใหญ่กว่า และต้องตั้งระดับเสียงของกลอง.2 ใบนี้ให้ต่างกัน ตึงแล้วจะดังโป๊งๆ ตึ่งๆ ตีด้วยปลายนิ้วมือและฝ่ามือไม่ต้องใช้ไม้ตี ขณะที่ตีกลองผู้ตีจะใช้เข่าหนีบกลองไว้ระหว่างขาทั้งสองหรือจะวางไว้บนขาตั้งก็ได้ ราคาอยู่ที่ประมาณ 1,200 - 3,000 บาท ถ้าอยากได้ขาตั้งด้วยก็อีก 1,000 กว่าบาท


 : http://www.chillpainai.com/scoop/223

9.ฮาร์โมนิก้า(harmonica)หรือ เมาท์ออร์แกน(Mouth organ)

ประวัติเมาท์ออร์แกน

          

http://www.chillpainai.com/src/wewakeup/scoop/img_scoop/scoop/Item/Percussion/00J.jpg

ฮาร์โมนิก้า (Harmonica) หรือที่บางคนเรียกว่า Mouth organ หรือหีบเพลงปากนั่นแหละ เป็นเครื่องดนตรีชิ้นเล็กๆ....กพาสะดวก ราคาไม่แพง นิยมเล่นกันทั่วโลกโดยเฉพาะเพลงแนว Blues มีหลายประเภท หลายขนาด วิธีการเล่นก็แตกต่างกันไป http://www.chillpainai.com/scoop/223        

 เมาท์ออร์แกนเป็นเครื่องดนตรีของชาวสก๊อตแลนด์ในปีค.ศ.1763 (ประมาณพ.ศ.2306) พัฒนาจากเครื่องเป่าของชนเผ่าอีทรีสกันในโรมันเมื่อก่อนคริสตกาล 742ปี ต่อมานักดนตรีชาวฝรั่งเศสชื่อ ชาลส์ โรลบินส์ได้พัฒนาจากเครื่องเป่าที่หนักมากกว่า2.7 กิโลกรัม ลดลงเหลือ1.3 กิโลกรัม และเสียงไพเราะกว่าเดิมจึงนำไปขายโดยให้ชื่อว่า "ชาล โรลออร์แกนิส" แต่กลับขายไม่ได้เพียงเครื่องเดียว ทำให้เครื่องดนตรีชิ้นนี้ถูกลบเลือนในประวัติศาสตร์ในชั่วกาล แต่ต่อมานักดนตรีในเยาว์ชาวฟินแลนด์ชื่อ "โธมัส เมาท์เลทุส" เขามีอายุเพียง 16 ปีได้ซื้อเครื่องดนตรีชนิดนี้กลับพบว่า ไพเราะมากเพียงแค่หนักเกินไป จึงสร้างขึ้นมาใหม่ จึงมีขนาดกะทัดรัด เบาบาง และไพเราะ จึงตัดสินใจนำไปขายปรากฏว่าขายดีมากเป็นพิเศษ จึงได้ให้ชื่อว่า"เมาท์ออร์แกน" เพราะพกพาได้ เครื่องดนตรีชิ้นนี้จึงแพร่ขยายไปทั่วโลกนั่นเอง 










      



          Harmonica หรือที่คนไทยนิยมเรียกว่าเมาท์ออร์แกน ถูกคิดค้นโดย Buschmann Christian ในปี 1821 ในขณะที่เขามีวัยเพียง 16ปี ตอนแรกเขาเรียกเครื่องดนตรีใหม่นี้ว่า "Aura" หรือ "Mundaeoline"Handharmonika


       Buschmann อธิบายให้พี่ชายของเขาฟังว่า"เครื่องดนตรีชนิดใหม่ที่มีโดดเด่นอย่างแท้จริง. ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงสี่นิ้ว แต่ให้โน๊ตได้ถึง 21 ตัวโน๊ต


      หลังจากนั้นก็ถูกลอกเลียนแบบ และดัดแปลงไปอย่างแพร่หลายที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนจำนวนมาก จนกระทั่งถึงปี 1826 ช่างทำเครื่องดนตรี ชาวโบฮีเมียนที่มีชื่อริกเตอร์ ได้ทำพัฒนาให้มีจำนวนรู 10 และ 20 รู แยกกันระหว่างช่องดูดแลเป่า 






       ในปี 1857, ประวัติศาสตร์ของHamonicaได้เปลี่ยนไปอีครั้งโดยช่างทำนาฬิกาชื่อ Matthias Hohner ได้หันไปผลิต Harmonica เต็มเวลาโดยความช่วยเหลือจากครอบครัวและคนงานของเขา

iอ้างอิง saravadee.blogspot.com/

8.คาฮอง(Cajon)

เรามักจะเรียกกันว่า คาฮอง กาฮอง คาฮอน คาโฮน กาโฮน กลองนั่งตี กลองตู้ลำโพง

เรียกได้ว่าเครื่องดนตรีที่เรียกว่าคาฮองนั้นมีความนิยมทั่วโลก ไม่ใช่แค่เมืองไทย เอเชีย แต่มันกำลังเป็นที่นิยมทั่วโลก เพราะมาจากการเล่นที่ง่ายและราคาไม่แพงเท่ากลองชุด อีกทั้งยังประยุกต์เล่นกับเครื่องดนตรีได้เกือบทุกแบบ ทุกแนวเพลง




มาดูประวัติของคาฮอง กลองกล่องกัน

Cajons ช่วงแรกเป็นกลองกล่องไม้ง่ายๆ ถูกใช้ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 16 ที่ประเทศเปรู ตอนแรก Cajon มันเิ่มมาจากแรงงานชาวแอฟริกาที่ทำงานในเปรูเอาลังไม้ที่เอาไว้ใส่ปลาที่จับมาจากทะเลเอามาตี มาเคาะแทนกลองพื้นเมืองของแอฟริกาในยามที่มีงานสังสรรค์ในสังคมคนแอฟริกันในประเทศเปรู
นอกจากนี้ในประเทศคิวบา ก็เอาลิ้นชักโต๊ะทำกับข้าวมาทำเป็นกลอง รูปทรงเหมือนกล่อง ตีประกอบกับดนตรีพื้นเมืองของคิวบามานานหลายศตวรรษ ในเวลานี้ Cajon จึงเป็นเครื่องดนตรี ที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของเพลงชาวเปรูและคิวบาโดยปริยาย
เป็นกล่องไม้ ที่เจาะรูในด้านตรงข้ามที่จะตี ซึ่งเสียงจะผ่านออกมาจากช่องที่เราเจาะ ผู้เล่น Cajon เพียงแค่นั่งบน Cajon แยกขาแล้วเอามือทั้งสองข้าง หรือข้างใดข้างหนึ่งตีที่บริเวณผิวไม้ด้านตรงข้ามกับรูที่เจาะเพื่อให้เกิดเสียงตามจังหวะของดนตรีนั้นๆ
http://cajon.in.th/2012/08/คาฮอง-คืออะไร/

7.แอ็คคอร์เดียน(accordion)



http://www.thaigoodview.com/node/84451
แอคคอร์เดียน (Accordion) เป็นเครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้วเช่นเดียวกับเปียโนเสียงของ แอคคอร์เดียนเกิดจากการสั่นสะเทือนของลิ้นทองเหลืองเล็ก ๆ ภายในตัวเครื่องอันเนื่องมาจากการเล่น ผ่านเข้า – ออกของลมซึ่งต้องใช้แรงของผู้เล่นสูบเข้า – ออก
   แอคคอร์เดียนมีหลายขนาดเช่นขนาด 25 ลิ่มนิ้ว 12 เบส ขนาด 37 ลิ่มนิ้ว 80 เบส และขนาด ใหญ่ซึ่งนิยมใช้เล่นโดยทั่วไปจะมี 41 ลิ่มนิ้ว 120 เบส และยังมีปุ่มปรับเสียงเปลี่ยนระดับเสียงติดอยู่ทาง ด้านขวาอีกหลายปุ่ม ทางด้านซ้ายอาจมีช่องปรับความดัง – ค่อยซึ่งเปิด – ปิด ได้อีก 3-4 ช่อง ปุ่มปรับ ระดับเสียงจะเป็นปุ่มเสียงต่ำ (Low reed) แอคคอร์เดียนนิยมใช้กับวงดนตรีขนาดเล็กเช่น วงดนตรีประจำหมู่บ้าน วงดนตรีลูกทุ่ง วงคอมโบ วงโฟล์คซอง เป็นต้น
http://group.wunjun.com/knowledgeofmusic/topic/260895-7153

ุ6.ไวโอลิน(violin)

                         http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/258/Music/violin_view.html
                   
                 ไวโอลิน คือเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายในตระกูลไวโอลิน (Violin Family)  ซึ่งมีทั้งหมด 4 ชนิด คือ ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และดับเบิลเบส  ไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีที่ขนาดเล็กที่สุด เครื่องดนตรีในตระกูลไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีหลักที่ใช้ในวงออร์เคสตร้า  ปกติจะเล่นโดยใช้คันชักสีที่สาย แต่บางครั้งก็จะใช้นิ้วดีดที่สาย เพื่อให้เกิดเสียงสั้นยาวตามต้องการ  ในวงดนตรีประเภทออร์เคสตร้าไวโอลินจะเป็นกลุ่มเครื่องดนตรีที่มีจำนวนมาก  ไวโอลินสามารถนำไปใช้บรรเลงในวงดนตรีประเภทอื่นๆได้เช่นกัน เช่น ดนตรีแจ๊ส ดนตรีบลูส์ ดนตรีป๊อปปูล่า หรือดนตรีร็อก เป็นต้น
 ไวโอลิน
 วิโอลา
 เชลโล
 ดับเบิลเบส

 

5.เปียโน(Piano)

     เปียโนเป็นเครื่องดนตรีประเภท Keyboard มีลักษณะพิเศษเหนือกว่าเครื่อง ดนตรีอื่นใดเพราะเปียโนให้เสียงที่เป็นมาตรฐานจำนวน 88 เสียง ซึ่งมากที่สุดเมื่อ เทียบกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ นอกจากนั้นยัง มีช่วงกว้างของเสียง (Range) มากกว่าเครื่อง ดนตรีอื่นๆ อีกด้วย กล่าวคือสามารถผลิตเสียง ที่มีระดับสูงมากและต่ำมากซึ่งเครื่องดนตรีชนิด อื่นไม่สามารถทำได้ ลักษณะพิเศษอีกประการ หนึ่งคือ สามารถใช้บรรเลงทั้งทำนอง (Melody) และเสียงประสาน (Harmony) ได้ในเวลา เดียวกันโดยมิต้องอาศัยเครื่องดนตรีอื่นๆ เล่น ประกอบ(Accompaniment) ตรงกันข้ามกับ เครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ ที่ต้องอาศัยเปียโนเล่น ประกอบ เช่น Violin, Flute, Oboe, Bassoon, Trumpet ฯลฯ หรือแม้แต่เสียงร้อง ของมนุษย์ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่ พิเศษมากแล้วก็ยังต้องอาศัยเปียโนเล่น ประกอบ เพื่อทำให้เสียงร้องนั้นเด่นชัดและ เกิดความไพเราะมากยิ่งขึ้น เปียโนมีระบบกลไกทำงานภายในแบบ แบบเครื่องจักร ทุกอย่างเป็นฝีมือจากมนุษย์ เป็นผู้ผลิตขึ้นทั้งสิ้น ระบบและกลไกดังกล่าวนี้ จะเปิดเผยออกโดยทางความรู้เชิงช่าง เพื่อ ตอบข้อสงสัยหรือตอบคำถามต่างๆ เราจะ ศึกษาระบบกลไกการทำงาน ระบบเสียง การ ซ่อมแซม การปรับปรุงแก้ไขและอื่นในตัวเปียโน ก่อนที่จะดำเนินการทางเชิงช่างดังกล่าวควรจะ ศึกษาประวัติความเป็นมาของเปียโน เพื่อความ เข้าใจระบบการทำงานซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญยิ่ง ดังต่อไปนี้
          เปียโนเครื่องแรกที่มีกลไกการทำงานค่อน ข้างจะสมบูรณ์ สามารถผลิตเสียงเบาหรือดังได้ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1726 โดยชาวอิตาเลียนชื่อ Bartolomeo Cristofori (1655-1731) ชื่อ Piano เป็นคำย่อที่ Cristofori ได้ตั้งขึ้นว่า Piano et Forte ซึ่งหมายถึง เบา และ ดัง เพราะเปียโนเป็นเครื่องดนตรีที่มีความกว้างของ เสียง (Range) ถึง 88 เสียง สามารถทำเสียง เบาและดังได้โดยใช้ระยะเวลาเพียงเสี้ยววินาที ซึ่งเครื่องดนตรี Keyboard อื่นๆ ทำไม่ได้ การที่เปียโนทำเสียงเบาและดังได้เช่นนั้น ทำให้ สามารถใช้บรรเลงเพลงซึ่งแสดงอารมณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ทำให้คนฟังได้อารมณ์สุนทรีย์ ประวัติความเป็นมาของเปียโนแบ่งได้เป็น 3 ยุค ซึ่งแต่ละยุคอาจจะมีการคาบเกี่ยวกันบ้าง ในเรื่องของระยะเวลาดังนี้
        - ยุคแรกอยู่ในระหว่างปี ค.ศ. 1720- 1850 เรียกว่า Antique
        - ยุคที่สองอยู่ในระหว่างปี ค.ศ. 1850- 1900 เรียกว่า Victorian
        - ยุคที่สามตั้งแต่ปี ค.ศ. 1900 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน เรียกว่า Modern
          1. ยุค Antique Piano (1720-1850) เปียโนที่ผลิตขึ้นมาในระยะแรกๆ เพื่อ ทดลองใช้นั้นได้มีการพัฒนาปรับปรุงแก้ไข เรื่องของกลไกต่างๆ รวมทั้ง รูปแบบ โครงสร้าง โดยใช้วัสดุหลายชนิด วัสดุบางอย่างมีอายุการ ใช้งานสั้นมาก ส่วนทรงหรือรูปแบบบางอย่าง ไม่เป็นที่นิยมจึงเลิกผลิตในเวลาต่อมา ยุคนี้ เป็นยุคแห่งการทดลอง เพื่อจะค้นหาวิธีการ ผลิตหรือสร้างเปียโนให้ดีมีคุณภาพ และเพื่อให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนานต่อไป
          2. ยุค Victorian Piano (ประมาณปี 1850) เปียโนที่ผลิตขึ้นส่วนมากมีคุณภาพค่อน ข้างดี มีมาตรฐานมากขึ้น มีการทดลองใช้วัสดุที่ คงทนถาวรจนแน่ใจว่าเหมาะสมกับชิ้นส่วน ต่างๆ มากขึ้น ในยุคนี้เปียโนผลิตออกมา 3 ชนิดคือ
              2.1 Upright Piano คือ เปียโนที่มีรูป ทรงลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมทรงสูง สาย และ Soundboard จะอยู่ในแนวตั้งกับพื้น
              2.2 Square Grand Piano คือ เปียโนที่ มีรูปทรงลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า สายและ Keyboard จะอยู่ในทิศทางเดียวกัน แต่ Keyboard จะอยู่ต่ำกว่าสาย อย่างไรก็ตามทั้ง สายและ Keyboard จะวางอยู่ในตำแหน่งที่ ขนานกับพื้น ปัจจุบันเปียโนชนิดนี้ไม่ผลิตออก จำหน่ายแล้ว
              2.3 Grand Piano คือ เปียโนที่มีรูปทรง ลักษณะสวยงาม มีส่วนที่โค้งเว้าและส่วนตรง ประกอบกับลวดลายแกะสลักในส่วนที่วางโน้ต ขาทั้งสาม และส่วนที่เป็น Pedals สำหรับสาย จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนที่ผลิตเสียง กลาง (Middle Section) และส่วนที่ผลิตเสียง สูง (Treble Section) จะวางเป็นมุมตั้งแต่ 90- 80-70 และ 60 องศาตามลำดับ (ทวนเข็ม นาฬิกา) จากโน้ตสูงสุดลงไปหาโน้ตกลางๆ ของเปียโน ส่วนสายที่ผลิตเสียงต่ำ (Bass Section) จะวางเป็นมุม 80-70-60 องศาตาม ลำดับ (ตามเข็มนาฬิกา) จากโน้ตต่ำสุดขึ้นไป ยังโน้ตกลางๆ ของเปียโน ดังนั้นสายทั้งสอง ส่วนนี้จะวางในตำแหน่งแนวองศาเอียง เข้าหากัน ทำเกิดรูปทรงรูปสามเหลี่ยม ซึ่งมีผล ในการประหยัดพื้นที่และดูสวยงามมากขึ้น สำหรับกลุ่มสายที่ผลิตเสียงต่ำ (Bass Section) จะวางอยู่เหนือกลุ่มสาย Middle Section ใน บางส่วน ทั้งสาย (Strings) และ Keyboard จะวางในแนวระนาบขนานกับพื้น เปียโนที่ผลิต ในยุค Victorian ทั้ง 3 ชนิดนี้จะเป็นเปียโนที่มี คุณภาพค่อนข้างดีเกือบทั้งสิ้น
          

                                          grand piano        upright piano

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/c/c8/Grand_piano_and_upright_piano.jpg







3. ยุค Modern (1900 จนถึงปัจจุบัน) เปียโนที่ผลิตหรือสร้างขึ้นในยุคใหม่นี้ได้มี การเลียนแบบการผลิตในยุค Victorian มา เกือบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นส่วนสัด รูปทรง โครงสร้าง หรือแม้แต่ชิ้นส่วนภายในของเปียโน ยกเว้นลวดลายหรือการแกะสลักภายนอก และ วัสดุที่ใช้ผลิตเท่านั้นที่จะไม่เหมือนกับยุค Victorian จริงๆ เพราะวิทยาการสมัยใหม่ เจริญก้าวหน้าอย่างมาก มีการทดลองค้นคว้า และคำนวณตามแนวทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องเสียงจะใช้วัสดุที่คงทน มีรูป แบบและขนาดที่มาตรฐาน โครงสร้างที่แน่นอน ลดความฟุ่มเฟือยหรูหรา เปลี่ยนแบบเป็นเรียบ ง่าย มีการเขียนแบบ คำนวณสัดส่วนที่ชัดเจน แน่นอน เปียโนแต่ละยี่ห้อจะมีวิศวกรออกแบบ โดยเฉพาะ ดังนั้นแต่ละยี่ห้อจะมีการแข่งขันกัน ในเรื่องของแบบและรูปทรง หรือการใช้ เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างกันนั้นน่าจะอยู่ที่ขนาด ความยาว ความกว้าง ความสูง ความหนา และการใช้วัสดุ เป็นส่วนประกอบเท่านั้น เปียโนในยุค Modern นี้ยังสามารถแบ่งได้ชัดเจนเป็น 2 ชนิดคือ
              3.1 Grand Piano เป็นเปียโนที่มี ตำแหน่งของ Soundboard สาย และ Key วางในแนวระนาบขนานกับพื้น มีขนาดและชื่อ เรียกแตกต่างกันออกไปดังนี้ ขนาด 5 ฟุต 8 นิ้ว หรือ 173 เซนติเมตร หรือ เล็กกว่านี้ เรียกว่า Baby Grand ขนาด 5 ฟุต 10 นิ้ว หรือ 178 เซนติเมตร เรียกว่า Living Room Grand ขนาด 6 ฟุต หรือ 183 เซนติเมตร เรียก ว่า Professional Grand ขนาด 6 ฟุต 4 นิ้ว หรือ 193 เซนติเมตร เรียกว่า Drawing Room Grand ขนาด 5 ฟุต 8 นิ้ว ถึง 6 ฟุต 10 นิ้ว หรือ 203 - 208 เซนติเมตร เรียกว่า Parlour, Artist, Salon or Music Room Grand ขนาด 7 ฟุต 4 นิ้ว หรือ 224 เซนติเมตร เรียกว่า Half Concert or Semi Concert Grand ขนาด 8 ฟุต 11 นิ้ว หรือ 272 เซนติเมตร หรือ ใหญ่กว่า Concert or Orchestral Concert Grand
              3.2 Vertical Grand Pianos เป็นเปียโน ที่ตำแหน่งของ Sound-board สาย วางในแนว ตั้งกับพื้น มีขนาดและชื่อเรียกตามลักษณะ ต่างๆ กำหนดเอาความสูงของเปียโนเป็นเกณฑ์ แบ่งออกเป็น 3 ชนิดดังนี้
                    3.2.1 Upright Pianos กำหนดเอา บริเวณ Action (อยู่ภายใน) ตั้งอยู่เหนือ Key-board โดยมีระยะความสูงจาก Keyboard โดยมีชิ้นส่วนที่เรียกว่า Stickers เป็น ตัวเชื่อมระหว่าง Key-board กับ Action ชิ้น ส่วนที่เรียกว่า Stickers นี้จะทำให้ Action อยู่ สูงกว่าปกติ ทำให้รูปทรงของเปียโนนี้สูง ดังนั้น สายของเปียโนชนิดนี้จะยาวกว่าชนิดอื่น Sound-board จะใหญ่และสูงตามไปด้วย เปียโน ชนิดนี้สามารถผลิตเสียงที่ดี ดังมากกว่าเปียโน ชนิดอื่นๆ
                    3.2.2 Console Pianos หรือบางที่เรียก ว่า Studio Upright เป็นเปียโนที่มีความสูง ขนาดกลาง สังเกตจาก Action จะพบว่าไม่มี Stickers เป็นตัวเชื่อมระหว่าง Key-board กับ Action จะมีเพียง Captain Screw แทน จึง ทำให้ Action วางติดอยู่กับ Key-board เท่านั้น ดังนั้นส่วนที่เป็นสาย หรือ Soundboard จะไม่สูงเกินไป การผลิตเสียงจึงไม่ดัง มากเท่ากับ Upright Pianos
                    3.2.3 Spinet Pianos เป็นเปียโนที่มี ความสูงน้อยที่สุดในบรรดา Vertical Pianos ทั้งหมด หากสังเกต Action จะพบว่า นอกจาก ไม่มี Stickers แล้ว Action จะอยู่ต่ำกว่า fKey-board บริษัทบางแห่งสามารถจะผลิต ส่วนที่เป็น Key-board ให้มีส่วนยื่นยาวและ ห้อยลงไปรองรับส่วนที่เรียกว่า Captain Screw ใต้ Action และมีบางบริษัทผลิต Stickers เหมือนกันแต่ให้ติดอยู่ด้านหลังของ Action และอ้อมกลับมาด้านหน้าอีกครั้งเพื่อ จะให้ต่อกับ Key-board ได้ ทำให้เกิดความยุ่ง ยากมากในการซ่อมแซม Action ดังนั้นทั้งสาย และ Sound-board จึงจำเป็นต้องสั้นมากที่สุด เพราะเปียโนมีส่วนสูงน้อยดังกล่าวแล้ว การ ผลิตเสียงจึงมีความกังวานน้อยตามไปด้วย
          อาจสรุปได้ว่าเปียโนในสมัยใหม่แบ่งออก เป็น 2 ชนิด คือ Grand Piano และ Vertical Grand Piano โดยที่ Vertical Grand Piano ยังสามารถแบ่งออกตามลักษณะได้ 3 ลักษณะ คือ Upright, Console และ Spinet มีการ เรียกชื่อเปียโนหลายวิธีด้วยกัน ซึ่งชื่อเหล่านั้น จะบ่งบอกลักษณะของขนาด หรือไม้ที่ใช้ทำเปีย โน และการออกแบบตัวถังเปียโนมีหลาย ลักษณะเช่นเดียวกัน เช่น Spinet, Console, Upright, Baby Grand, Half Concert Grand ฯลฯ ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย มักจะ ตั้งชื่อเปียโนที่สร้างขึ้นอย่างสวยหรู โดยตั้งชื่อ ให้เกี่ยวข้องกับเปียโนชนิดที่ดีๆ ซึ่งอาจจะทำให้ ผู้คนที่พบเห็นเข้าใจผิดได้อย่างมาก เช่น คน ส่วนมากรู้ว่า Grand Piano ส่วนมากเป็น เครื่องดนตรีที่ดีกว่า Upright Piano อย่าง แน่นอน ดังนั้นผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายมัก จะตั้งชื่อ Vertical Grand Piano ที่ผลิตขึ้นว่า Upright Grand, Studio Grand, Inverted Grand ซึ่งการตั้งชื่อแบบนั้นจะทำให้คนจำนวน มากเกิดสับสนและเข้าใจผิดคิดว่า Piano เหล่า นั้นมีคุณภาพดีเท่ากับ Grand Piano ซึ่งเมื่อมี การทดสอบกันจริงๆ แล้วปรากฏว่าไม่ได้เป็น ความจริงอย่างที่ได้โฆษณาไว้เลย แต่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพเหมาะสมตามลักษณะของตัว เปียโนเอง



อ้างอิง http://www.sompongwongdee.com

3.กลองชุด(Team Drum)

          




 กลองชุดเป็นชื่อเรียกภาษาไทย  มีความหมายถึง  กลองหลายใบ ภาษาอังกฤษ 
ใช้ Team Drum  หรือ Jass Drum  ทั้งสองชื่อมีความหมายเหมือนกัน  คือ  การบรรเลงกลอง
ครั้งละหลายใบ  คำว่า    “แจ๊ส (Jass)  หมายถึง  ดนตรีแจ๊ส  ซึ่งใช้กลองชุดร่วมบรรเลง  จึงเรียกว่า  Jass Drum  และยังมีชื่อเรียกกลองชุดเป็นภาษาอังกฤษ ว่า Dance Drumming  หมายถึงกลองชุดใช้บรรเลงจังหวะเต้นรำ
       กลองชุดประกอบด้วย กลองลักษณะต่างๆหลายใบ  และฉาบหลายอันมารวมกัน  โดยใช้ผู้บรรเลงเพียงคนเดียว  กลองชุดนี้ตามประวัติของดนตรีไม่ปรากฏว่าได้เข้าร่วมบรรเลงกับวงดนตรีดุริยางค์สากล ซึ่งเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่  แต่ใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีแจ๊ส และวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีน้อยชิ้นบรรเลงได้แก่  วงคอมโบ้ (Combo)  วงสตริงคอมโบ้ (String Combo)  ฯลฯ
ส่วนประกอบของกลองชุด            กลองชุดประกอบด้วยกลองลักษณะต่างๆ หลายใบและฉาบหลายอันมารวมกันโดยใช้ผู้บรรเลงเพียงคนเดียว  กลองชุดนี้ตามประวัติของดนตรีไม่ปรากฏว่าได้เข้าร่วมบรรเลงกับวงดนตรีดุริยางค์สากล ซึ่งเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่  แต่ใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีแจ๊สและวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีน้อยชิ้นบรรเลงได้แก่วง คอมโบ้  วงสตริงคอมโบ้  ฯลฯ  กลองที่ใช้ร่วมบรรเลงกับกลองชุดมีดังนี้
            1.  กลองใหญ่ (Bass Drum)
            กลองใหญ่  มีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับกลองใหญ่ที่ใช้บรรเลงในวงดุริยางค์สากลแต่ขนาดแตกต่างกันคือ  ขนาดกลองใหญ่ของกลองชุดมีขนาดที่นิยมใช้ทั่วไป คือ ขนาด 14 x 20 นิ้ว หรือ  14 x 22 นิ้ว  มีอุปกรณ์เหมือนกันกับกลองใหญ่วงดุริยางค์ทุกประการ เวลาบรรเลงไม่ต้องใช้ขอหยั่งรองรับ เพราะมีขาหยั่งติดมากับตัวกลอง  เพียงแต่ดึงขอหยั่งออกทั้งสองข้างจะทำให้กลองไม่เคลื่อนที่  เป็นการยึดตัวกลองใหญ่ให้ติดอยู่กับพื้นกลองใหญ่ไม่ใช้ไม้ถือสำหรับตี ใช้กระเดื่อง (Pedal)  ติดแท่งเหล็กกลมๆ ปลายหุ้มด้วยสักหลาดความยาวประมาณ 10 นิ้ว  สำหรับเท้าข้างขวาเหยียบลงไปบนกระเดื่อง ปลายกระเดื่องส่วนบนจะทำหน้าที่แทนมือ
            2. กลองเล็ก (Snare Drum)
            กลองเล็ก  เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกลองชุดรูปร่างลักษณะกลองเล็กที่ใช้บรรเลงร่วมกับกลองชุด มีลักษณะเหมือนกลองเล็กที่ใช้บรรเลงวงดุริยางค์วงใหญ่ทุกประการ  หรือเป็นกลองเล็กอย่างเดียวกัน  สามารถนำไปใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีโดยทั่วไปได้กลองเล็กเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญที่สุดในจำพวกเครื่องเคาะตีทั้งหลายเพราะการบรรเลงตามบทเพลงของกลองเล็กจะทำหน้าที่บรรเลงจังหวะที่ขัดกับกลองใหญ่  โดยกลองใหญ่จะบรรเลงตามจังหวะหนัก และเบา  กลองเล็กจะบรรเลงจังหวะขืนหรือจังหวะขัด มีลักษณะเหมือนกับหยอกล้อกัน  และเป็นการกระตุ้นให้ผู้ฟังตื่นตัว มีอารมณ์ร่วมกับผู้บรรเลง เกือบจะทุกบทเพลงที่เปิดโอกาสให้กลองเล็กแสดงความสนุก คึกคัก และเป็นการเรียกร้องให้เครื่องดนตรีอื่นๆร่วมสนุกสนานด้วยนั่นคือ การบรรเลงกลองเล็กตอนปลายประโยคของบทเพลง ที่ภาษานักตีกลองเรียกว่า “ห้องส่ง” หรือ “บทส่ง” (Fill)  ขนาดกลองเล็กที่นิยมใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 x 14 นิ้ว
            3.  ฉาบ (Cymbals)
            ฉาบ  เป็นส่วนประกอบอีกชิ้นหนึ่งของกลองชุด  รูปร่างลักษณะเหมือนกับฉาบที่ใช้บรรเลงในวงดุริยางค์  โดยทั่วไปนิยมใช้ฉาบขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20-30 นิ้ว ตั้งไว้ด้านข้างขวามือ  และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16-18 นิ้ว ตั้งไว้ด้านข้างซ้ายมือ  ฉาบทั้งสองใบนี้ไม่มีเชือกหนังสำหรับมือถือ แต่จะมีขาหยั่งรองรับทั้งสองใบ  เวลาบรรเลงใช้มือขวาตีฉาบด้านขวามือเป็นหลัก เพราะมีเสียงก้องกังวานกว่า  บางครั้งอาจสลับเปลี่ยนมาตีด้านซ้ายมือบ้างเป็นบางครั้ง
            4.  ไฮแฮท (Hi Hat)
            ไฮแฮท  คือ ฉาบสองใบเหมือนกับฉาบในวงดุริยางค์  แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยทั่วไปนิยมใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  14-15 นิ้ว  ฉาบทั้งสองใบนี้ไม่ใช้เชือกหนังร้อยสำหรับถือ  เพราะมีขาตั้งรองรับ ใบที่หนึ่งใส่ลงบนขาตั้งโดยให้ด้านนูนอยู่ด้านล่าง จะมีแผ่นโลหะและสักหลาดรองรับ  อีกใบหนึ่งใส่ลงบนขอตั้งโดยให้ด้านนูนอยู่ด้านบน มีที่ไขติดอยู่กับแกนของขาตั้ง  โดยกะระยะให้ห่างกันพอประมาณ  เพื่อไม่ให้ฉาบทั้งสองใบชิดติดกัน ช่วงล่างสุดมีกระเดื่องเหมือนกับกลองใหญ่สำหรับเหยียบให้ฉาบทั้งคู่กระทบกัน  ไฮแฮทมีหน้าที่คอยขัดจังหวะหรือช่วยหนุนกลองเล็ก เน้นจังหวะขัดให้กระชับยิ่งขึ้น
            5.  ทอม ทอม (Tom Tom)
            ทอม ทอม  คือ กลองขนาดเล็กสองใบมีรูปร่างเหมือนกลองเล็ก แต่มีขนาดสูงกว่า ไม่ติดเส้นลวด ทอม ทอม ทั้งสองใบมีขนาดแตกต่างกัน ใบหนึ่งจะติดตั้งทางด้านซ้ายมือ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าอีกใบหนึ่ง ซึ่งติดตั้งด้านขวามือ  โดยทั่วไปนิยมใช้ทอม ทอม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 x 13 นิ้วและขนาด 14 x 14 นิ้ว ทั้งสองใบจะมีรูด้านข้างสำหรับใส่แกนโลหะเพื่อติดตั้งบนกลองใหญ่ ระดับเสียงทอม ทอม ด้านซ้ายมือมีระดับเสียงสูงกว่าด้านขวามือ ทอม ทอม มีหน้าที่สร้างความสนุกคึกคัก โดยจะบรรเลงในบทส่ง หรือการเดี่ยวกลอง (Solo)  เพื่อสร้างความรู้สึก  การกระตุ้นให้เพลิดเพลินกับจังหวะ บทเพลงที่ใช้  ทอม ทอม บรรเลงมากที่สุด คือ เพลงประเภทลาติน
            6.  ฟลอร์ทอม (Floor Tom)
            ฟลอร์ทอม  มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่า “ทอมใหญ่” (Large Tom)  รูปร่างลักษณะเหมือนกับ ทอม ทอม ไม่ติดเส้นลวด ขนาดของฟลอร์ทอม สูงกว่าทอม ทอม  มีขาติดตั้งกับตัวฟลอร์ทอม เวลาบรรเลงตั้งอยู่ด้านขวามือชิดกับกลองใหญ่ เสียงฟลอร์ทอมต่ำกว่าเสียงทอม ทอม  แต่เสียงสูงกว่าเสียงกลองใหญ่ ฟลอร์ทอม ทำหน้าที่อย่างเดียวกับ ทอม ทอม  โดยทั่วไปนิยมใช้ ฟลอร์ทอม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง       16  x 16 นิ้ว
 
อ้างอิงจาก http://www.thaigoodview.com/node/18209